การยื่นขออนุญาตในงานก่อสร้าง

การยื่นขออนุญาตในงานก่อสร้าง การดัดแปลงอาคาร


การยื่นขออนุญาตในงานก่อสร้าง

สำหรับผู้ที่จะที่ต้องการจะสร้างบ้านหรือดัดแปลงบ้าน จะต้องมีการยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างและได้การอนุมัติก่อน จึงจะสามารถจึงจะสามารถลงมือทำงานได้ โดยขั้นแรก ต้องมีสถาปนิกหรือวิศวกรทำการออกแบบเขียนแบบให้ จากนั้นก็ไปทำเรื่องขออนุญาตก่อสร้างกับทางเทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งสิ่งที่ต้องเตรียมไปมีดังนี้

  1. ใบอนุญาตก่อสร้างดัดแปลงรื้อถอนอาคาร หรือใบ ข.1
  2. แบบแปลนแผนผัง 5 ชุด
  3. หนังสือรับรองว่าเป็นผู้ออกแบบวิศวกรพร้อมสำเนาใบอนุญาต
  4. สำเนาโฉนดที่ดิน
  5. สำเนาบัตรประชาชนหรือทะเบียนบ้านเจ้าของงาน

จากนั้นนำเอกสารไปยื่นต่อทางเทศบาล ทางเทศบาลจะตอบกลับภายใน 45 วัน สำหรับการก่อสร้างดัดแปลงหรือต่อเติม ถ้าอยู่ในเขตเทศบาล ต้องขออนุญาตกับนายช่างโยธาแต่ละท้องถิ่น แต่ถ้าเป็นอาคารขนาดใหญ่ก็ต้องติดต่อกับสำนักงานจังหวัด

สำหรับการรื้อถอน

ถ้าอาคารสูงเกิน 15 เมตร และห่างอาคารอื่นน้อยกว่า 2 เมตรจะต้องมีการขออนุญาติทุกครั้ง แต่ถ้าทั้งหมดที่กล่าวมาอยู่นอกเขตเทศบาล ก็ไม่ต้องมีการขออนุญาต

นอกจากการขออนุญาตการก่อสร้างแล้ว ยังต้องมีการขออนุญาตอย่างอื่นอีก เช่น การขอประปา ไฟฟ้าชั่วคราว การขออนุญาตเชื่อมทาง เพื่อขอให้รถขนดินและรถขนปูนสามารถวิ่งผ่านได้ ซึ่งการขออนุญาตเหล่านี้ ส่วนใหญ่ทางผู้รับเหมาจะเป็นผู้ดำเนินการให้ทั้งหมด

ถึงตรงนี้ เจ้าของบ้านหลายท่านอาจคิดว่ามีอะไรเยอะแยะเต็มไปหมด แต่รายละเอียดเหล่านี้จะเป็นตัวยืนยันให้ว่าบ้านของท่านมีการก่อสร้างหรือดัดแปลง อย่างมั่นคงแข็งแรง
สามารถอยู่ได้อย่างปลอดภัย และไม่สร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นอย่างแน่นอนค่ะ

กฎหมายที่ควรรู้ เมื่อก่อสร้างหรือดัดแปลงบ้าน

เจ้าของบ้านหลายท่านอาจจะสงสัยว่า หากจะทาสีบ้านใหม่ เปลี่ยนประตูที่เสียหรือปูพื้นห้องน้ำใหม่ ต้องยื่นขออนุญาตก่อนลงมือทำหรือไม่
โดยจะมีขอกฎหมายควบคุมอาคารกำหนดไว้ว่าสิ่งใดที่ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคาร ซึ่งสิ่งที่จะทำนั้นไม่ถือเป็นการดัดแปลง ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ก็ไม่ต้องขออนุญาต

การกระทำที่ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคาร

  1. หากต้องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอาคาร
    สามารถทำได้ โดยวัสดุที่ใช้ต้องเป็นวัสดุชนิดเดิม มีขนาดเท่าเดิม และจำนวนเท่าเดิม
    ยกเว้นแต่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอาคาร ที่เป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กหรือโครงสร้างเหล็กรูปพรรณ
  2. หากต้องการเปลี่ยนส่วนที่ไม่ใช่โครงสร้าง
    เช่น ผนัง ผ้าเพดาน และประตูหน้าต่าง ต้องใช้วัสดุชนิดเดิมหรือวัสดุชนิดอื่น ที่ไม่เป็นการเพิ่มน้ำหนักและสิ่งที่เปลี่ยนนั้นต้องมีน้ำหนักไม่มากกว่าของเดิม 10 เปอร์เซ็นต์
    เช่น ประตูเก่าหนัก 10 กิโลกรัม ทำการเปลี่ยนประตูใหม่ ต้องใช้วัสดุชนิดเดิมหรือวัสดุชนิดอื่นและหนักไม่เกิน 11 กิโลกรัม
  3. หากต้องการปรับเปลี่ยนหรือต่อเติมส่วนที่ไม่ใช่โครงสร้าง
    ต้องไม่ทำให้น้ำหนักตรงจุดนั้น เพิ่มมากกว่าของเดิมเกิน 10 เปอร์เซ็นต์ เช่น การติดป้ายเป็นต้น
  4. หากต้องการลด หรือเพิ่มพื้นที่ของบ้าน
    เช่น การต่อเติมระเบียง ที่รวมแล้วไม่เกิน 5 ตารางเมตร โดยไม่มีการเพิ่มเสาหรือคาน สามารถกระทำได้
  5. หากต้องการลด หรือเพิ่มพื้นที่หลังคาบ้าน ถ้ารวมแล้วไม่เกิน 5 ตารางเมตร
    โดยไม่มีการเพิ่มเสาหรือคาน สามารถกระทำได้เช่นกัน

สังเกตหรือไม่ว่ากฎหมายจะเน้นไปในเรื่องของความแข็งแรงและความปลอดภัยของโครงสร้าง ไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักมากจนเกินไปนั้น ก็เพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยหรือเพื่อนบ้านข้างเคียง
การที่เขียนว่า สามารถทำได้โดยไม่ต้องยื่นขออนุญาตไม่ได้หมายความว่าทุกเรื่องเจ้าบ้านจะสามารถทำเองได้ทันที เพื่อความปลอดภัย ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนลงมือทำ