ขั้นตอนการขออนุญาตก่อสร้างและระยะเวลา การแจ้งขอเปิดใช้อาคาร


ขั้นตอนทั้งหมดในการก่อสร้าง เริ่มจากทางเจ้าของมีความประสงค์ต้องการก่อสร้าง มอบหมายให้สถาปนิกออกแบบ จากนั้นเขียนแบบเพื่อไปดำเนินการขออนุญาตก่อสร้าง เมื่อได้ใบอนุญาตก่อสร้างแล้วก็มาดำเนินการตีราคางานก่อสร้างโดยผู้รับเหมางานก่อสร้าง เมื่อตีราคางานก่อสร้างแล้วได้ราคาเป็นที่พอใจทั้งสองฝ่ายก็ดำเนินการก่อสร้าง หลังจากก่อสร้างแล้วเสร็จทางเจ้าของต้องไปดำเนินการเปิดใช้อาคาร โดยต้องดำเนินการภายใน 15 วันหลังจากการก่อสร้างแล้วเสร็จ เพื่อจะได้บ้านเลขที่, ไฟฟ้า, ประปา, อินเตอร์เน็ตและสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆที่ทางเจ้าของต้องการ

การขออนุญาตเกี่ยวข้องกับใครบ้าง

การขออนุญาตก่อสร้าง

การแจ้งขอเปิดใช้อาคาร

เจ้าของอาคารจะต้องทำหน้าที่อีกหนึ่งบทบาทก็คือต้องไปยื่นกับหน่วยงานราชการเดิมในการแจ้งขอเปิดใช้อาคาร ซึ่งระยะเวลาในการแจ้งก็คือควรจะรีบดำเนินการให้แล้วเสร็จ หลังจากที่เรา
ก่อสร้างเสร็จอาคารเสร็จภายในสิบห้าวัน การแจ้งการเปิดใช้อาคารก็จะช่วยในเรื่องของการได้เลขที่ ที่ตั้งของตัวอาคารที่ถูกต้อง เพื่อที่จะได้นำมาขออนุญาตใช้ระบบต่าง ๆ เช่น ระบบสื่อสาร ระบบอินเตอร์เน็ต ระบบโทรศัพท์ การขออนุญาตติดตั้งระบบประปา ระบบไฟฟ้าต่างๆ นี่คือในขั้นตอนหลังจากที่ ตัวอาคารของเราสร้างเสร็จแล้ว

การขออนุญาตก่อสร้าง

กฎระเบียบและก็กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปลูกสร้างอาคารพักอาศัย

การขออนุญาตก่อสร้าง

ในการเขียนแบบก่อสร้าง เรามีความจำเป็นต้องเขียน เพื่อที่จะใช้เพื่อสำหรับการขออนุญาตปลูกสร้างอาคารนั้นได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ตามข้อกำหนดต่างๆ ที่เราจะนำไปใช้ในการก่อสร้างอาคารพักอาศัย
ได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งข้อกำหนดต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการออกแบบ ในการก่อสร้างอาคารทั่วไปหนึ่งหลัง ฝ่ายที่จะเกี่ยวข้องต่างๆก็จะแบ่งเป็นข้อๆดังนี้

  1. เจ้าของโครงการหรือเจ้าของงาน
    เพื่อที่จะเป็นผู้ระบุวัตถุประสงค์ของตัวโครงการ หรือตัวสิ่งปลูกสร้างอาคารว่ามีวัตถุประสงค์แล้วก็มีจุดมุ่งหมายในการใช้อาคารนั้นอย่างไร
  2. สถาปนิก หรือ Architect
    รับความต้องการจากเจ้าของงาน ทำหน้าที่ในการออกแบบแล้วก็กำหนดส่วนประกอบต่าง ๆ ของตัวอาคารรวมทั้ง การออกแบบรูปร่างของตัวอาคารให้มีความเหมาะสมทางด้านสถาปัตยกรรม สถาปนิกทำงานร่วมกับฝ่ายวิศวกร หรือ Engineer ที่เกี่ยวข้องจะทำหน้าที่ประสานงานกับวิศวกรทั้งทางด้านโครงสร้าง เพื่อที่จะทำหน้าที่ออกแบบ ความมั่นคงแข็งแรง การรับน้ำหนักต่าง ๆ ของตัวอาคารแล้วก็ ในส่วนของวิศวกรที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านไฟฟ้า ก็จะทำหน้าที่ออกแบบในส่วนของงานทางไฟฟ้าแสงสว่างต่างๆ ที่จะนำมาใช้ในตัวอาคาร รวมทั้งวิศวกรที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของงานทาง Mechanical นะคะที่เป็นเครื่องจักรกลต่างๆ ถ้าในอาคารนั้นมีความจำเป็นจะต้องใช้ระบบงานทางเครื่องกลแล้วก็อาจจะมีงานทางด้านสุขาภิบาล ซึ่งในประเทศไทยส่วนใหญ่แล้วก็ยังไม่มีวิศวกรทางด้านสุขาภิบาลอย่างชัดเจนก็อาจจะทำงานร่วมกันประสานงานกันระหว่างวิศวกรทางด้านโครงสร้างและสถาปนิกนะก็จะทำหน้าที่ออกแบบงานทางระบบประปา แล้วก็สุขาภิบาล เมื่อเรื่องของแบบต่าง ๆ นะคะตกลงร่วมกันแล้วก็เป็นที่พอใจของเจ้าของงาน Owner แล้ว ก็จะรวบรวมแบบทั้งหมดนะคะ มอบหมายให้กับผู้เขียนแบบทำหน้าที่ในการเขียนรายละเอียดต่าง ๆ ของแบบก่อสร้าง ให้เป็นไปตามมาตรฐานของแบบแล้วก็สื่อความหมายให้กับผู้ที่จะนำแบบไปใช้ได้ทำการอ่านแล้วก็สื่อสารรายละเอียดต่าง ๆ ของแบบในทางปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
  3. Draftsman หรือผู้เขียนแบบ
    ถือว่าเป็นผู้ที่จะทำหน้าที่เขียนรายละเอียดในเชิง ข้อกำหนดต่างๆ ให้ถูกต้องให้เป็นไปตามแบบก่อสร้างที่จะนำไปใช้ปฏิบัติการก่อสร้างได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยและชัดเจนมากที่สุดนะคะ
    ก่อนที่เราจะนำแบบนะคะ ไปใช้ในการก่อสร้างได้จริงเนี่ย นะคะ ปฏิบัติการก่อสร้างได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยและชัดเจนมากที่สุด ก่อนที่เราจะนำแบบไปใช้ในการก่อสร้างได้จริงเนี่ย นะคะ
    ก็ต้องมี
  4. การยื่นของอนุญาตกับหน่วยงานราชการ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน
    เราจำเป็นต้องทำการยื่นขออนุญาตก่อสร้าเพื่อที่จะนำใบอนุญาตให้ก่อสร้างที่ได้ไปมอบหมายให้กับผู้รับเหมาก่อสร้างต่อไป
  5. Contractor หรือผู้รับเหมาต่างๆ ที่จะดำเนินการก่อสร้างอาคาร
    ภาพรวมของผู้ที่เกี่ยวข้องกับแบบก่อสร้าง แสดงให้เห็นถึงความสำคัญในการใช้แบบก่อสร้าง เพื่อที่จะให้ทุกฝ่ายทำงานร่วมกันแล้วก็เข้าใจตรงกัน ทั้งฝ่ายที่เป็นเจ้าของ ฝ่ายที่เป็นผู้ออกแบบ รวมทั้งฝ่ายที่เป็นผู้จำหน่าย และผลิตวัสดุเพื่อใช้ในการก่อสร้างได้อย่างถูกต้องด้วย นั่นคือสื่งที่เราจะใช้แบบก่อสร้างเป็นตัวกลางในการประสานงานทำงานร่วมกัน
    ทีนี้ในการขออนุญาตเพื่อปลูกสร้างอาคารแบบก่อสร้าง ที่จำเป็นสำหรับขออนุญาตปลูกสร้างเนี่ยก็หนีไม่พ้น แบบก่อสร้างทั้งสี่ชนิดที่เคยได้เรียนรู้กันไปในหัวข้อแรก ๆ นะคะ
    ก็คือแบบก็สร้างที่จำเป็นที่ควรมีในการขออนุญาตก็คือ กลุ่มของแบบก่อสร้างทางด้านของสถาปัตยกรรม
    ไม่ว่าจะเป็น
    – ผังพื้น
    – ผังบริเวณต่างๆ แสดงอาณาเขตต่างๆ
    – แบบทางด้านวิศวกรรม
    ถ้าอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร เราก็จะนำแบบก่อสร้างของเราเนี่ย ไปยื่นกับเขตพื้นที่นั้นๆ
    ซึ่งระยะเวลาของการขออนุญาตปลุกสร้างเนี่ย จะใช้เวลาในการพิจารณาอยู่ประมาณสี่สิบห้าวัน ซึ่งเจ้าหน้าที่เนี่ยก็จะดำเนินการนำแบบก่อสร้างของเราไปทบทวนความถูกต้องตามกฎหมายการก่อสร้างอาคารกฎหมายการควบคุมอาคาร หลังจากนั้นก็จะมาแจ้งให้กับเจ้าของทราบนะคะว่าแบบก่อสร้างนั้นจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงหรือสามารถอนุญาตที่จะให้ปลูกสร้างได้
    ถ้าเราไม่ติดขัดในเรื่องของแบบก่อสร้าง เราก็จะได้ใบอนุญาตปลูกสร้างนะคะ เพื่อที่จะมาใช้ในการก่อสร้างได้เลย ในการก่อสร้าง เมื่อเราได้รับใบอนุญาตปลูกสร้างแล้วเ เราก็จะมาดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งก็เป็นไปตามระยะเวลานะคะที่เหมาะสมของกระบวนการและก็ขั้นตอนการก่อสร้าง เมื่อก่อสร้างได้สำเร็จลุล่วงเป็นที่พอใจทุกฝ่ายแล้ว ก็จะเป็นขั้นตอนสุดท้ายของทางเจ้าของอาคารต้องไปดำเนินการต่อ
  6. เจ้าของอาคารจะต้องดำเนินการแจ้งขอเปิดใช้อาคาร
    ระยะเวลาในการแจ้งก็คือควรจะรีบดำเนินการให้แล้วเสร็จ หลังจากที่เราก่อสร้างเสร็จอาคารเสร็จภายในสิบห้าวัน การแจ้งการเปิดใช้อาคารก็จะช่วยในเรื่องของการได้เลขที่, ที่ตั้งของตัวอาคารที่ถูกต้อง
    เพื่อที่จะได้นำมาขออนุญาตใช้ระบบต่าง ๆ เช่น ระบบสื่อสาร, ระบบอินเตอร์เน็ต, ระบบโทรศัพท์, การขออนุญาตติดตั้งระบบประปา, ระบบไฟฟ้าต่างๆ นี่คือในขั้นตอนหลังจากที่ ตัวอาคารของเราสร้างเสร็จแล้ว