กฎหมายก่อสร้าง

รวมเช็กลิสต์ “กฎหมายก่อสร้าง” ที่ใช้บ่อยๆ เก็บไว้เป็นคู่มือได้เลย


กฎหมายก่อสร้าง

[ รูป – 1 ]
ระยะร่นจากแนวเขตที่ดินคนอื่น
กรณี “ผนังมีช่องเปิด หรือ ระเบียง”


อ้างอิง : กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 | ข้อ 50
.
ผนังของอาคารที่มีหน้าต่าง ประตู ช่องระบาย
อากาศ หรือช่องแสง หรือระเบียงของอาคาร
ต้องมีระยะห่างจากแนวเขตที่ดิน ดังนี้
.
(1) อาคารที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร ผนังหรือ
ระเบียงต้องอยู่ห่างเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 2 เมตร
.
(2) อาคารที่มีความสูงเกิน 9 เมตร แต่ไม่ถึง 23 เมตร
ผนังหรือระเบียงต้องอยู่ห่างเขตที่ดินไม่น้อยกว่า 3เมตร


อ้างอิง : ข้อบัญญัติ กทม. ควบคุมอาคาร | ข้อ 54
.
อาคารด้านชิดที่ดินเอกชน ช่องเปิด ประตู
หน้าต่าง ช่องระบายอากาศ หรือริมระเบียง
สำหรับชั้น 2 ลงมา หรือสูงไม่เกิน 9 เมตร
ต้องอยู่ห่างเขตที่ดิน ไม่น้อยกว่า 2 เมตร
.
และสำหรับชั้น 3 ขึ้นไป หรือสูงเกิน 9 เมตร
ต้องห่างไม่น้อยกว่า 3 เมตร

กฎหมายก่อสร้าง

[ รูป – 2 ]
ระยะร่นจากแนวเขตที่ดินคนอื่น
กรณี “ผนังทึบ” ไม่มีช่องเปิดหรือระเบียง


อ้างอิง : กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 | ข้อ 50
.
ผนังของอาคารที่อยู่ห่างเขตที่ดินน้อยกว่าตาม
ที่กำหนดไว้ใน (1) หรือ (2) ต้องอยู่ห่างจาก
เขตที่ดินไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร เว้นแต่
จะก่อสร้างชิดเขตที่ดินและอาคารดังกล่าวจะ
ก่อสร้างได้สูงไม่เกิน 15 เมตร ผนังของอาคาร
ที่อยู่ชิดเขตที่ดิน หรือห่างจากเขตที่ดินน้อยกว่า
ที่ระบุไว้ใน (1) หรือ (2) ต้องก่อสร้างเป็นผนังทึบ
.
ในกรณีก่อสร้างชิดเขตที่ดินต้องได้รับความยินยอม
เป็นหนังสือจากเจ้าของที่ดินข้างเคียงด้านนั้นด้วย
.
และดาดฟ้าของอาคารด้านนั้นให้ทำผนังทึบ
สูงจากดาดฟ้าไม่น้อยกว่า 1.80 เมตร


อ้างอิง : กฎกระทรวง ฉบับที่ 68 | ข้อ 2
.
“ผนังทึบ” หมายความว่า ผนังที่ไม่มีหน้าต่าง
ประตู ช่องระบายอากาศ หรือช่องแสง และ
ให้หมายความรวมถึงผนังที่ก่อด้วยบล็อกแก้ว
หนาไม่น้อยกว่า 9 เซนติเมตร โดยบล็อกแก้ว
ต้องอยู่ สูงกว่าระดับพื้นของห้องไม่น้อยกว่า
1.8 เมตร ทั้งนี้ ผนังที่ก่อด้วยบล็อกแก้วต้องมี
พื้นที่รวมกัน ไม่เกินร้อยละสิบของพื้นที่ผนัง
แต่ละชั้นในด้านนั้น ๆ


อ้างอิง : ข้อบัญญัติ กทม. ควบคุมอาคาร | ข้อ 56
.
บ้านพักอาศัยที่มีพื้นที่ไม่เกิน 300 ตารางเมตร
ให้ผนังด้านทีไม่มีช่องเปิดสามารถสร้างห่าง
เขตทีดินได้น้อยกว่า 1 เมตร ถ้าห่างเขตทีดิน
น้อยกว่า 50 เซนติเมตร ต้องได้รับความยินยอม
เป็นหนังสือจากเจ้าของที่ดินด้านนั้นด้วย

กฎหมายก่อสร้าง

[ รูป – 3 ]
ระยะร่นจากถนนสาธารณะ


อ้างอิง : กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 | ข้อ 41
อ้างอิง : ข้อบัญญัติ กทม. ควบคุมอาคาร | ข้อ 50
.
อาคารที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงใกล้ถนนสาธารณะ
ที่มีความกว้างน้อยกว่า 6 เมตร ให้ร่นแนวอาคาร
ห่างจากกึ่งกลางถนนสาธารณะอย่างน้อย 3 เมตร
.
อาคารที่สูงเกิน 2 ชั้นหรือเกิน 8 เมตร ห้องแถว
ตึกแถว บ้านแถว อาคารพาณิชย์ โรงงาน อาคาร
สาธารณะ ป้าย หรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติด
หรือตั้งป้าย หรือคลังสินค้า ที่ก่อสร้างหรือดัดแปลง
ใกล้ถนนสาธารณะ
.
(1) ถ้าถนนสาธารณะนั้นมีความกว้างน้อยกว่า
10 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากกึ่งกลาง
ถนนสาธารณะ อย่างน้อย 6 เมตร
.
(2) ถ้าถนนสาธารณะนั้นมีความกว้างตั้งแต่
10 เมตรขึ้นไป แต่ไม่เกิน 20 เมตร ให้ร่นแนว
อาคารห่างจาก เขตถนนสาธารณะอย่างน้อย
1 ใน 10 ของความกว้างของถนนสาธารณะ
.
(3) ถ้าถนนสาธารณะนั้นมีความกว้างเกิน
20 เมตรขึ้นไป ให้ร่นแนวอาคารห่างจาก
เขตถนนสาธารณะอย่างน้อย 2 เมตร

กฎหมายก่อสร้าง

[ รูป – 4 ]
ระยะร่นจากแหล่งน้ำสาธารณะ


อ้างอิง : กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 | ข้อ 42
.
อาคารที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงใกล้แหล่งน้ำ
สาธารณะ เช่น แม่น้ำ คู คลอง ลำราง หรือ
ลำกระโดง
.
ถ้าแหล่งน้ำสาธารณะนั้นมีความกว้างน้อยกว่า
10 เมตร ต้องร่นแนวอาคารให้ห่างจากเขต
แหล่งน้ำสาธารณะนั้นไม่น้อยกว่า 3 เมตร
.
แต่ถ้าแหล่งน้ำสาธารณะนั้นมีความกว้างตั้งแต่
10 เมตรขึ้นไป ต้องร่นแนวอาคารให้ห่างจาก
เขตแหล่งน้ำสาธารณะนั้นไม่น้อยกว่า 6 เมตร
.
สำหรับอาคารที่ก่อสร้างหรือดัดแปลงใกล้
แหล่งน้ำสาธารณะขนาดใหญ่ เช่น บึง ทะเลสาบ
หรือทะเล ต้องร่นแนวอาคารให้ห่างจากเขต
แหล่งน้ำสาธารณะนั้นไม่น้อยกว่า 12 เมตร
.
ทั้งนี้ เว้นแต่ สะพาน เขื่อน รั้ว ท่อระบายน้ำ
ท่าเรือ ป้าย อู่เรือ คานเรือ หรือที่ว่างที่ใช้เป็น
ที่จอดรถไม่ต้องร่นแนวอาคาร

กฎหมายก่อสร้าง

[ รูป – 5 ]
ระยะร่นอาคารในที่ดินเจ้าของเดียวกัน


กรณี “ผนังมีช่องเปิด” กับ “ผนังมีช่องเปิด”
อ้างอิง : กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 | ข้อ 48
.
วรรค (1)
ผนังของอาคารด้านที่มี หน้าต่าง ประตู
ช่องระบายอากาศหรือช่องแสง หรือระเบียง
ของอาคารต้องมี ระยะห่างจากผนังของอาคารอื่น
ด้านที่มีหน้าต่าง ประตู ช่องระบายอากาศหรือ
ช่องแสงหรือระเบียงของอาคาร ดังต่อไปนี้
.
(ก) อาคารที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร
ผนังหรือระเบียงของอาคารต้องอยู่ห่างจาก
ผนังหรือระเบียงของอาคารอื่นที่มีความสูง
ไม่เกิน 9 เมตร ไม่น้อยกว่า 4 เมตร
.
(ข) อาคารที่มีความสูงไม่เกิน 9 เมตร
ผนังหรือระเบียงของอาคารต้องอยู่ห่างจาก
ผนังหรือระเบียงของอาคารอื่นที่มีความสูงเกิน
9 เมตร แต่ไม่ถึง 23 เมตร ไม่น้อยกว่า 5 เมตร
.
(ค) อาคารที่มีความสูงเกิน 9 เมตร แต่ไม่ถึง
23 เมตร ผนังหรือระเบียงของอาคาร ต้อง
อยู่ห่างจากผนังหรือระเบียงของอาคารอื่น
ที่มีความสูงเกิน 9 เมตร แต่ไม่ถึง 23 เมตร
ไม่น้อยกว่า 6 เมตร


กรณี “ผนังทึบ” กับ “ผนังทึบ”
อ้างอิง : กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 | ข้อ 48
.
วรรค (3)
ผนังของอาคารที่มีความสูงเกิน 15 เมตร
แต่ไม่ถึง 23 เมตร ด้านที่เป็นผนังทึบต้องอยู่
ห่างจากผนังของอาคารอื่นที่มีความสูงเกิน
15 เมตร แต่ไม่ถึง 23 เมตร ด้านที่เป็นผนังทึบ
ไม่น้อยกว่า 1 เมตร

กฎหมายก่อสร้าง

[ รูป – 6 ]
ระยะร่นอาคารในที่ดินเจ้าของเดียวกัน


กรณี “ผนังทึบ” กับ “ผนังมีช่องเปิด”
อ้างอิง : กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 | ข้อ 48
.
วรรค (2)
ผนังของอาคารด้านที่เป็นผนังทึบต้องมี
ระยะห่างจากผนังของอาคารอื่นด้านที่มีหน้าต่าง
ประตู ช่องระบายอากาศหรือช่องแสง หรือ
ระเบียงของอาคาร ดังต่อไปนี้
.
(ก) อาคารที่มีความสูงไม่เกิน 15 เมตร
ผนังของอาคารต้องอยู่ห่างจากผนังหรือ
ระเบียงของอาคารอื่นที่มีความสูงไม่เกิน
9 เมตร ไม่น้อยกว่า 2 เมตร
.
(ข) อาคารที่มีความสูงไม่เกิน 15 เมตร
ผนังของอาคารต้องอยู่ห่างจากผนังหรือ
ระเบียงของอาคารอื่นที่มีความสูงเกิน 9 เมตร
แต่ไม่ถึง 23 เมตร ไม่น้อยกว่า 3 เมตร
.
(ค) อาคารที่มีความสูงเกิน 15 เมตร แต่ไม่ถึง
23 เมตร ผนังของอาคารต้องอยู่ห่างจากผนัง
หรือระเบียงของอาคารอื่นที่มีความสูงไม่เกิน
9 เมตร ไม่น้อยกว่า 2.50 เมตร
.
(ง) อาคารที่มีความสูงเกิน 15 เมตร แต่ไม่ถึง
23 เมตร ผนังของอาคารต้องอยู่ห่างจากผนัง
หรือระเบียงของอาคารอื่นที่มีความสูงเกิน 9 เมตร
แต่ไม่ถึง 23 เมตร ไม่น้อยกว่า 3.50 เมตร

กฎหมายก่อสร้าง

[ รูป – 7 ]
ที่ว่างรอบอาคารทั่วไป


อ้างอิง : กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 | ข้อ 33
อ้างอิง : ข้อบัญญัติ กทม. ควบคุมอาคาร | ข้อ 52
.
อาคารแต่ละหลังหรือหน่วยต้องมีที่ว่างตาม
ที่กำหนดดังต่อไปนี้
.
(1) อาคารอยู่อาศัย และอาคารอยู่อาศัยรวม
ต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า 30 ใน 100 ส่วนของ
พื้นที่ชั้นใดชั้นหนึ่งที่มากที่สุดของอาคาร
.
(2) ห้องแถว ตึกแถว อาคารพาณิชย์ โรงงาน
อาคารสาธารณะ และอาคารอื่นซึ่งไม่ได้ใช้
เป็นที่อยู่อาศัย ต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า 10 ใน
100 ส่วน ของพื้นที่ชั้นใดชั้นหนึ่งที่มากที่สุด
ของอาคาร แต่ถ้าอาคารดังกล่าวใช้เป็นที่อยู่
อาศัยด้วยต้องมีที่ว่างตาม (1)


อ้างอิง : ข้อบัญญัติ กทม. ควบคุมอาคาร | ข้อ 55
.
อาคารทีมีวามสูงไม่เกิน 15 เมตร ต้องมีที่ว่าง
โดยรอบอาคารไม่น้อยกว่า 1 เมตร ยกเว้น
บ้านพักอาศัยทีมื้นที่ไม่เกิน 300 ตารางเมตร
.
อาคารที่มีความสูงเกิน 15 เมตร ต้องมีที่ว่าง
โดยรอบอาคารไม่น้อยกว่า 2 เมตร

กฎหมายก่อสร้าง

[ รูป – 8 ]
ที่ว่างรอบตึกแถว (ห้องแถว)


อ้างอิง : กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 | ข้อ 34
อ้างอิง : ข้อบัญญัติ กทม. ควบคุมอาคาร | ข้อ 52
.
ห้องแถวหรือตึกแถวซึ่งด้านหน้าไม่ติดริม
ถนนสาธารณะ ต้องมีที่ว่างด้านหน้าอาคาร
กว้างไม่น้อยกว่า 6 เมตร โดยไม่ให้มีส่วนใด
ของอาคารยื่นล้ำเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว
.
ห้องแถวหรือตึกแถว ต้องมีที่ว่างด้านหลังอาคาร
กว้างไม่น้อยกว่า 3 เมตร เพื่อใช้ติดต่อถึงกัน
โดยไม่ให้มีส่วนใดของอาคารยื่นล้ำเข้าไปใน
พื้นที่ดังกล่าว เว้นแต่การสร้างบันไดหนีไฟ
ภายนอกอาคารที่ยื่นล้ำไม่เกิน 1.40 เมตร
.
ระหว่างแถวด้านข้างของห้องแถวหรือตึกแถว
ที่สร้างถึงสิบคูหา หรือมีความยาวรวมกันถึง
40 เมตร ต้องมีที่ว่างระหว่างแถวด้านข้างของ
ห้องแถวหรือตึกแถวนั้นกว้างไม่น้อยกว่า 4 เมตร
เป็นช่องตลอดความลึกของห้องแถวหรือตึกแถว
เพื่อเชื่อมกับที่ว่างหลังอาคาร
.
ห้องแถวหรือตึกแถวที่สร้างติดต่อกันไม่ถึง
10 คูหา หรือมีความยาวรวมกันไม่ถึง 40 เมตร
แต่มีที่ว่างระหว่างแถวด้านข้างของห้องแถว
หรือตึกแถวนั้นกว้างน้อยกว่า 4 เมตร ไม่ให้
ถือว่าเป็นที่ว่างระหว่างแถวด้านข้างของห้องแถว
หรือตึกแถวแต่ให้ถือว่าห้องแถวหรือตึกแถว
นั้นสร้างต่อเนื่องเป็นแถวเดียวกัน
.
ห้องแถวหรือตึกแถวที่มีด้านข้างใกล้เขตที่ดิน
ของผู้อื่น ต้องมีที่ว่างระหว่างด้านข้างของ
ห้องแถวหรือตึกแถวกับเขตที่ดินของผู้อื่นนั้น
กว้างไม่น้อยกว่า 2 เมตร เว้นแต่ห้องแถวหรือ
ตึกแถวที่ก่อสร้างขึ้นทดแทนอาคารเดิมโดย
มีพื้นที่ไม่มากกว่าพื้นที่ของอาคารเดิมและ
มีความสูงไม่เกิน 15 เมตร

กฎหมายก่อสร้าง

[ รูป – 9 ]
ที่ว่างรอบบ้านแถว (ทาวน์เฮ้าส์)


อ้างอิง : กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 | ข้อ 36
.
บ้านแถวต้องมีที่ว่างด้านหน้าระหว่างรั้ว
หรือแนวเขตที่ดินกับแนวผนังอาคารกว้าง
ไม่น้อยกว่า 3 เมตร
.
และต้องมีที่ว่างด้านหลังอาคารระหว่างรั้ว
หรือแนวเขตที่ดินกับแนวผนังอาคารกว้าง
ไม่น้อยกว่า 2 เมตร
.
ระหว่างแถวด้านข้างของบ้านแถวที่สร้างถึง
10 คูหา หรือมีความยาวรวมกันถึง 40 เมตร
ต้องมีที่ว่างระหว่างแถวด้านข้างของบ้าน
แถวนั้นกว้างไม่น้อยกว่า 4 เมตร เป็นช่อง
ตลอดความลึกของบ้านแถว
.
บ้านแถวที่สร้างติดต่อกันไม่ถึงสิบคูหา หรือ
มีความยาวรวมกันไม่ถึง 40 เมตร แต่มีที่ว่าง
ระหว่างแถวด้านข้างของบ้านแถวนั้นกว้าง
น้อยกว่า 4 เมตร ไม่ให้ถือว่าเป็นที่ว่างระหว่าง
แถวด้านข้างของบ้านแถว แต่ให้ถือว่าบ้าน
แถวนั้นสร้างต่อเนื่องเป็นแถวเดียวกัน

กฎหมายก่อสร้าง

[ รูป – 10 ]
ที่ว่างรอบบ้านแฝด


อ้างอิง : กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 | ข้อ 37
.
บ้านแฝดต้องมีที่ว่างด้านหน้าและด้านหลัง
ระหว่างรั้วหรือแนวเขตที่ดินกับแนวผนังอาคาร
กว้างไม่น้อยกว่า 3 เมตรและ 2 เมตรตามลำดับ
และมีที่ว่างด้านข้างกว้างไม่น้อยกว่า 2 เมตร

กฎหมายก่อสร้าง

[ รูป – 11 ]
พื้นที่ภายในอาคาร


ห้องนอน
อ้างอิง : กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 | ข้อ 20
.
ห้องนอนในอาคาร ให้มี
ความกว้างด้านแคบที่สุดไม่น้อยกว่า 2.50 เมตร
และมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 8 ตารางเมตร


ช่องทางเดินในอาคาร
อ้างอิง : กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 | ข้อ 21
.
ช่องทางเดินในอาคาร ต้องมีความกว้าง
ไม่น้อยกว่าตามที่กำหนดไว้ดังต่อไปนี้
.
1) อาคารอยู่อาศัย กว้าง 1.00 เมตร
.
2) อาคารอยู่อาศัยรวม หอพักตามกฎหมาย
ว่าด้วยหอพัก สำนักงาน อาคารสาธารณะ
อาคารพาณิชย์ โรงงาน อาคารพิเศษ
กว้าง 1.50 เมตร

กฎหมายก่อสร้าง

[ รูป – 12 ]
แบบห้องน้ำและห้องส้วม


อ้างอิง : กฎกระทรวง ฉบับที่ 39 | ข้อ 9
อ้างอิง : ข้อบัญญัติ กทม. ควบคุมอาคาร | ข้อ 61
.
ห้องน้ำและห้องส้วมจะแยกจากกันหรือรวมอยู่
ในห้องเดียวกันก็ได้โดยมีลักษณะดังต่อไปนี้
.
(1) สร้างด้วยวัสดุทนทาน และทำความสะอาดง่าย
.
(2) ระยะดิ่งระหว่างพื้นห้องถึงเพดานยอดฝ้า
หรือผนังตอนต่ำสุด ต้องไม่ต่ำกว่า 2.00 เมตร
.
(3) มีช่องระบายอากาศไม่น้อยกว่าร้อยละสิบ
ของพื้นที่ห้องหรือมีพัดลมระบายอากาศได้เพียงพอ
.
(4) พื้นห้องน้ำและห้องส้วมมีความลาดเอียง
ไม่น้อยกว่า 1 ใน 100 ส่วน และมีจุดระบาย
น้ำทิ้งอยู่ในตำแหน่งต่ำสุดบนพื้นห้องน้ำ
.
(5) ในกรณีที่มีท่อระบายอุจจาระให้มีขนาด
เส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร
และมีความลาดเอียงไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ส่วน
.
(6) มีท่อระบายก๊าซขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
ไม่น้อยกว่า 2.50 เซนติเมตร และมีความสูง
อยู่ในระดับที่กลิ่นเหม็นของก๊าซไม่รบกวนผู้อื่น
.
(7) ทีปัสสาวะต้องมีระบบการดักกกลิ่น และ
เป็นแบบใช้น้ำชำระลงสู่ระบบกำจัดสิ่งปฏิกูล
.
(  ในกรณีเป็นอาคารที่มีบุคคลเข้าใช้สอย
ประจำอยู่หลายชั้น การจะจัดให้มีห้องส้วม
และทีปัสสาวะในชั้นใดให้เป็นไปตามความ
จำเป็นและเหมาะสม
.
(9) ในกรณีที่ห้องน้ำและห้องส้วมรวมอยู่
ในห้องเดียวกัน ต้องมีขนาพื้นที่ภายใน
ของห้อง ไม่น้อยกว่า 1.50 ตารางเมตร
แต่ถ้าห้องน้ำและห้องส้วมแยกกัน ต้องมี
ขนาดพื้นที่ภายในของแต่ละห้อง ไม่น้อย
กว่า 0.90 ตารางเมตร และมีความกว้าง
ภายในไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร

กฎหมายก่อสร้าง

[ รูป – 13 ]
ความสูงแต่ละชั้น (พื้นถึงพื้น)


อ้างอิง : กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 | ข้อ 22
.
ห้องหรือส่วนของอาคารที่ใช้ในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
ต้องมีระยะดิ่งไม่น้อยกว่าตามที่กำหนดไว้ดังต่อไปนี้
.
1) ห้องที่ใช้เป็นที่พักอาศัย บ้านแถว ห้องพัก
โรงแรม ห้องเรียนนักเรียนอนุบาล ครัวสำหรับ
อาคารอยู่อาศัย ห้องพักคนไข้พิเศษ ช่องทาง
เดินในอาคาร ระยะดิ่ง 2.60 เมตร
.
2) ห้องที่ใช้เป็นสำนักงาน ห้องเรียน ห้องอาหาร
ห้องโถงภัตตาคาร โรงงาน ระยะดิ่ง 3.00 เมตร
.
3) ห้องขายสินค้า ห้องประชุม ห้องคนไข้รวม
คลังสินค้า โรงครัว ตลาด และอื่น ๆ ที่คล้ายกัน
ระยะดิ่ง 3.50 เมตร
.
4) ห้องแถว ตึกแถว
– ชั้นล่าง ระยะดิ่ง 3.50 เมตร
– ตั้งแต่ชั้นสองขึ้นไป ระยะดิ่ง 3.00 เมตร
.
5) ระเบียง ระยะดิ่ง 2.20 เมตร
.
“ระยะดิ่ง” ตามวรรคหนึ่งให้วัดจาก “พื้นถึงพื้น”
ในกรณีของชั้นใต้หลังคาให้วัดจากพื้นถึง
ยอดฝาหรือยอดผนังอาคาร และในกรณี
ของห้องหรือส่วนของอาคารที่อยู่ภายใน
โครงสร้างของหลังคา ให้วัดจากพื้นถึงยอดฝา
หรือยอดผนังของห้องหรือส่วนของอาคาร
ดังกล่าวที่ไม่ใช่โครงสร้างของหลังคา

กฎหมายก่อสร้าง

[ รูป – 14 ]
แบบบันไดอาคารอยู่อาศัยทั่วไป


อ้างอิง : กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 | ข้อ 23
อ้างอิง : ข้อบัญญัติ กทม. ควบคุมอาคาร | ข้อ 38
.
บันไดของอาคารอยู่อาศัยถ้ามีต้องมีอย่างน้อย
หนึ่งบันไดที่มีความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า
80 เซนติเมตร (กระทรวง) 90 เซนติเมตร (กทม)
ช่วงหนึ่งสูงไม่เกิน 3 ม. ลูกตั้งสูงไม่เกิน 20 ซม.
ลูกนอนเมื่อหักส่วนที่ขั้นบันไดเหลื่อมกันออก
แล้วเหลือความกว้างไม่น้อยกว่า 22 เซนติเมตร
และต้องมีพื้นหน้าบันไดมีความกว้างและยาว
ไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได
.
บันไดที่สูงเกิน 3 เมตร ต้องมีชานพักบันได
ทุกช่วง 3 เมตร หรือน้อยกว่านั้น และชานพัก
บันไดต้องมีความกว้างและยาวไม่น้อยกว่า
ความกว้างของบันได ระยะดิ่งจากขั้นบันได
หรือชานพักบันไดถึงส่วนต่ำสุดของอาคาร
ที่อยู่เหนือขึ้นไปต้องสูงไม่น้อยกว่า 1.90 เมตร

กฎหมายก่อสร้าง

[ รูป – 15 ]
แบบสุขาภิบาลและการระบายน้ำทิ้ง


อ้างอิง : กฎกระทรวง ฉบับที่ 44 | ข้อ 7-9
อ้างอิง : ข้อบัญญัติ กทม. ควบคุมอาคาร | ข้อ 69

.
ข้อ 7 การก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารประเภท ง
ตามที่กำหนดในข้อ 3 และอาคารพักอาศัย
ประเภทบ้านเดี๋ยว ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว
หรือบ้านแฝด ให้แสดงแบบระบบบำบัดน้ำเสีย
โดยจะต้องประกอบด้วย
.
(1) บ่อเกรอะ ซึ่งต้องมีลักษณะที่มิดชิดน้ำซึม
ผ่านไม่ได้ เพื่อใช้เป็นที่แยกกากที่ปนอยู่กับ
น้ำเสียทิ้งไว้ให้ตกตะกอน และ
(2) บ่อซึม ซึ่งต้องมีลักษณะที่สามารถใช้เป็น
ที่รองรับน้ำเสียที่ผ่านบ่อเกรอะแล้ว และให้
น้ำเสียนั้นผ่านอิฐหรือหินหรือสิ่งอื่นใดเพื่อ
ให้เป็นน้ำทิ้งบ่อเกรอะและบ่อซึมตามวรรคหนึ่ง
ต้องมีขนาดได้สัดส่วนที่เหมาะสมกับการใช้
ของผู้ที่อยู่อาศัยในอาคารนั้นในกรณีที่จะ
ไม่ใช้วิธีการตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง
อาจใช้วิธีอื่นในการปรับปรุงน้ำเสียให้ได้มาตรฐาน
คุณภาพน้ำทิ้งตามที่กำหนดไว้สำหรับอาการ
ประเภท ง ในข้อ 4 ก็ได้
.
ข้อ 8 การกำจัดน้ำทิ้งจากอาคารจะดำเนินการ
ระบายลงสู่แหล่งรองรับน้ำทิ้ง หรือระบายลงสู่
พื้นดินโดยใช้วิธีผ่านบ่อซึมหรือโดยวิธีอื่นใด
ที่เหมาะสมกับสภาพของอาคารนั้นก็ได้
แต่ต้องไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่
ผู้อื่นหรือกระทบกระเทือนต่อการรักษาคุณภาพ
สิ่งแวดล้อม
.
ข้อ 9 ในกรณีที่อาคารได้จัดให้มีทางระบายน้ำ
เพื่อระบายน้ำจากอาคารลงสู่แหล่งรองรับน้ำทิ้ง
ทางระบายน้ำนั้นต้องมีลักษณะที่สามารถตรวจสอบ
และทำความสะอาดได้โดยสะดวก และต้อง
วางตามแนวตรงที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยต้อง
มีส่วนลาดเอียงไม่ต่ำกว่า 1 ใน 200 หรือต้อง
มีส่วนลาดเอียงเพียงพอให้น้ำทิ้งไหลเร็วไม่
ต่ำกว่า 60 เชนติเมตรต่อวินาที ขนาดของทาง
ระบายน้ำต้องมีความสัมพันธ์กับปริมาณน้ำทิ้ง
ของอาคารนั้นโดยถ้าเป็นทางระบายน้ำแบบท่อปิด
ต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลางภายในไม่น้อยกว่า
10 เซนดิเมตร โดยต้องมีบ่อพักสำหรับตรวจ
การระบายน้ำทุกมุมเลี้ยวและทุกระยะ ไม่เกิน
12 เมตร หรือทุกระยะไม่เกิน 24 เมตร
ถ้าทางระบายน้ำแบบท่อปีดนั้นมีขนาด
เส้นผ่าศูนย์กลางภายในตั้งแต่ 60 ซม. ขึ้นไป
ในกรณีที่เป็นทางระบายน้ำแบบอื่นต้องมี
ความกว้างภายในที่ขอบบนสุดไม่น้อยกว่า 10 ซม.


อ้างอิง : ข้อบัญญัติ กทม. ควบคุมอาคาร
ข้อ 71
.
การก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารพักอาศัย
ประเภทบ้านเดี่ยว ซึ่ง มีพื้นที่ไม่เกิน 1,000 ตร.ม.
ตึกแถว ห้องแถว บ้านแถวหรือบ้านแฝด และ
อาคารชั่วคราว ให้แสดงแบบระบบบำบัดน้ำสีย
ของแต่ละหน่วยโดยจะต้องประกอบด้วย
.
(1) บ่อดักไขมัน ซึ่ง มีลักษณะทีสามารถ
กักเก็บไขมันและเปิดทำความสะอาดได้
.
(2) บ่อเกรอะ ซึ่งต้องมีลักษณะที่มิดชิด
น้ำซึมผ่านไม่ได้ เอาใช้เป็นที่แยกกาก
ที่ปนอยู่กับน้ำเสียทิ้งไว้ให้ตกตะกอน และ
.
(3) บ่อกรอง ซึ่งต้องมีลักษณะทีสามารถใช้
เป็นทีรองรับน้ำเสียทีผ่านบ่อเกรอะแล้ว และ
ให้น้ำเสียนั้นผ่านอิฐหรือหินหรือสิ่งอื่นใด
เพื่อให้เป็นน้ำทิ้ง
.
บ่อดักไขมัน บ่อเกรอะและบ่อกรองตามวรรคหนึ่ง
จะต้องมีขนาดได้สัดส่วนทีเหมาะสมกับการ
ใช้ของผู้ที่อยู่อาศัยในอาคารนั้น เพื่อให้ได้
มาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งตามทีกำหนดไว้
สำหรับอาคารประเภท ง
.
ในกรณีทีจะไม่ใช้วิธีการดังกล่าวอาจใช้วิธีอื่น
ในการบำบัดน้ำเสียให้ได้มาตรฐาน้ำทิ้งตาม
เกณฑ์ทีกำหนดไว้สำหรับอาคารประเภท ง
ในข้อ 70 หรือจะใช้ตามแบบมาตรฐานที่
กรุงเทพมหานครกำหนดก็ได้

กฎหมายก่อสร้าง

[ รูป – 16 ]
กฎหมายอื่น ๆ


ครัวในอาคาร
อ้างอิง : กฎกระทรวง ฉบับที่ 44 | ข้อ 18
.
ครัวในอาคารต้องมีพื้นและผนังที่ทำด้วยวัสดุ
ถาวรที่เป็นวัสดุทนไฟ ส่วนฝาและเพดานนั้น
หากไม่ได้ทำด้วยวัสดุถาวรที่เป็นวัสดุทนไฟ
ก็ให้บุด้วยวัสดุทนไฟ


การระบายอากาศ
อ้างอิง : กฎกระทรวง ฉบับที่ 39 | ข้อ 12-14
อ้างอิง : ข้อบัญญัติ กทม. ควบคุมอาคาร | ข้อ 64
.
ข้อ 12 ระบบการระบายอากาศในอาคารจะ
จัดให้มีการระบายอากาศโดยวิธีธรรมชาติ
หรือโดยวิธีกลก็ได้
.
ข้อ 13 ในกรณีทีจัดให้มีการระบายอากาศโดย
วิธีธรรมชาติ ห้องในอาคารทุกชนิดทุกประเภท
ต้องมีประตู หน้าต่าง หรือช่องระบายอากาศ
ด้านติดกับอากาศภายนอกเป็นพื้นทีรวมกัน
ไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของพื้นทีของห้องนั้น
ทั้งนี้ไม่นับรวมพื้นทีของประตู หน้าต่าง และ
ช่องระบายอากาศทีติดต่อกับห้องอื่นหรือ
ช่องทางเดินภายในอาคาร
.
ข้อ 14 ในกรณีทีไม่อาจจัดให้มีการระบาย
อากาศโดยวิธีธรรมชาติตามข้อ 13 ได้ ให้จัด
ให้มีการระบายอากาศโดยวิธีกลซึ่งใช้กล
อุปกรณ์ขับเคลื่อนอากาศ กลอุปกรณ์นี้ต้อง
ทำงานตลอดเวลาระหว่างทีใช้สอยพื้นที่นั้น
และการระบายอากาศต้องมีการนำอากาศ
ภายนอกเข้ามาในพื้นทีไม่น้อยกว่าอัตราที
กำหนดไว้ในตารางที่ 4 ท้ายกฎกระทรวงนี้

ขอบคุณบทความจาก ผู้รับเหมาพันธุ์ใหม่ Contrepreneur