เหตุผล 10 ข้อที่วิศวกร (และคุณ) ปฎิเสธไม่ได้หากจะต้องตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้งานแทนรถยนต์น้ำมันเดิม


‘เหตุผล 10 ข้อที่วิศวกร (และคุณ) ปฎิเสธไม่ได้หากจะต้องตัดสินใจเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้งานแทนรถยนต์น้ำมันเดิม’ ตอนที่หก (มีสิบตอนจบ) : มาตรฐานของรถยนต์ไฟฟ้าคือตัวกำหนดความปลอดภัย

มาตรฐานของรถยนต์ไฟฟ้าจะเป็นตัวกำหนดการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าให้เป็นไปอย่างปลอดภัยทั้งต่อตัวผู้ขับขี่และผู้โดยสารเองและยังรวมไปถึงความปลอดภัยต่อชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่สำคัญต่างๆในรถยนต์ไฟฟ้าอีกด้วย อาทิเช่น มอเตอร์ไฟฟ้าแบบแม่เหล็กถาวร (Permanent magnet electric motor), ชุดควบคุมมอเตอร์ (motor controller), แบตเตอรี่แพค Li-ion, อุปกรณ์อัดประจุภายในรถยนต์ไฟฟ้า (On-board charger), อุปกรณ์ปรับแรงดันทางไฟฟ้า (DC-to-DC converter), ปั้มสำหรับพวงมาลัยไฟฟ้า (Electric steering oil pump) และระบบเครื่องปรับอากาศไฟฟ้า (Electric Air compressor motor and Inverter) เป็นต้น

ปัญหาสำคัญอันดับหนึ่งของรถยนต์ไฟฟ้าก็คือเรื่องของความปลอดภัยโดยเฉพาะชิ้นส่วนที่สำคัญของรถยนต์ไฟฟ้านั่นคือแบตเตอรี่แพคชนิด Lithium-ion เพราะว่าเซลแบตเตอรี่ชนิดนี้จะมีขั้วอาโนดที่ทำขึ้นจากวัสดุกราไฟต์ (ที่นิยมมาทำเป็นใส้ดินสอ) ซึ่งมีข้อดีในการจ่าย (discharge) และเก็บประจุ (charge) ได้ดีแต่ก็มีข้อเสียคือหากมีการดึงประจุมาใช้คราวละมากๆในช่วงเวลาสั้นๆ เช่น กำลังที่จะเร่งแซงรถคันหน้าหรือขณะที่กำลังไต่ขึ้นทางลาดชัน เจ้าวัสดุกราไฟต์ที่เป็นขั้วอาโนดนี้จะส่งผ่านประจุลิเธียมไอออนออกไป (discharging) ได้ไม่ดีเท่าที่ควรและก็มักจะเกิดปัญหาประจุอุดตัน (congestion) อยู่บ่อยครั้งและทำให้เกิดความร้อนขึ้นมาภายในเซล (overheat) แต่ละเซลได้และหากแต่ละเซลไม่ได้รับการ cooling ที่ดีและได้มาตรฐานอย่างเพียงพอก็อาจจะเกิดการลัดวงจรขึ้นภายในเซลเหล่านั้นได้เช่นเดียวกัน นี่เองมาตรฐานระบบหล่อเย็น (cooling system) ของแบตเตอรี่จึงมีความสำคัญไม่ด้อยไปกว่ามาตรฐานอื่นเลย

มาตรฐานแบตเตอรี่ Lithium-ion ยังเจาะลึกลงไปถึงชนิดของลิเธียมไอออนแบตเตอรี่ที่นำมาใช้ในยานยนต์ไฟฟ้าแต่ละคันด้วยว่าเป็น Li-ion ประเภทใดเพราะ Li-ion บางประเภทก็ให้ค่า safety level ที่ไม่เท่ากัน อีกทั้งนี้สารละลาย electrolyte ที่เชื่อมระหว่างขั้วอาโนดและขั้วคาโธดในแบตเตอรี่ Li-ion นั้นมักจะเป็นสารเหลวที่ติดไฟได้ง่าย (inflamable) ดังนั้นหากเกิดการลัดวงจรภายในเซลขึ้นมามันก็ทำให้เกิดเปลวไฟลุกตามขึ้นมาได้ตามกระบวนการที่เรียกว่า thermal runaway นั่นเอง โดยทั่วไปแล้วมาตรฐานแบตเตอรี่ Li-ion จึงอยู่ที่ระบบหล่อเย็น (cooling system) ที่จะต้องทำงานร่วมกับระบบ BMS : Battery Management System โดยการสื่อสารผ่าน protocal ที่เรียกว่า CANbus ของแบตเตอรี่นั่นเอง

ในกรณีเกิดการชนกันขึ้นมา รถยนต์ไฟฟ้าจะต้องมีมาตรฐานตัวตัดไฟ (power-off after collision) ภายในรถเอาไว้สำหรับตัดไฟอัตโนมัติเพื่อป้องกันไม่ให้เกิด electric shock ที่อาจเกิดจากไฟแรงสูง (high voltage) ที่รั่วจากกล่องแบตเตอรี่แพคแล้วไหลเข้าสู่ภายในรถได้ง่าย ดังนั้นตัวแบตเตอรี่แพคเองก็จะต้องมีมาตรฐานในการห่อหุ้มด้วยฉนวนชนิดพิเศษเพื่อป้องกันไฟรั่วได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ขณะเดียวกันมาตรฐานรถยนต์ไฟฟ้าก็จะกำหนดให้รถยนต์ไฟฟ้าทุกคันจะต้องมีปุ่มตัดไฟที่เรียกว่า Manual Service Disconnect หรือ Crash switch รวมถึงต้องกำหนดตำแหน่งติดตั้งเอาไว้อีกด้วย

ยังไม่หมดแค่นี้น่ะ มาตรฐานรถยนต์ไฟฟ้าเค้ายังต้องกำหนด safety guide ในกรณีที่ต้องวิ่งลุยฝ่าน้ำท่วม (wading test) ที่ความลึกไม่เกิน 0.30 ม. ว่ารถยนต์ไฟฟ้าจะต้องสามารถวิ่งฝ่าไปให้ได้อย่างน้อย 3 ถึง 5 นาที โดยปลอดภัยและจะต้องแสดงมาตรฐานในเรื่องของระบบฉนวนแบบกันน้ำเข้าภายในตัวรถให้ดูอีกด้วย ไม่เช่นนั้นจะถือว่าไม่ผ่านในเรื่องของมาตรฐานความปลอดภัยจากการลุยน้ำท่วมนั่นเอง

เมื่อมีมาตรฐานลุยฝ่าน้ำท่วมอย่างปลอดภัยแล้วต่อไปก็จะตามมาด้วยมาตรฐานการจมน้ำ (submerging test) นั่นคือผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจะต้องนำรถยนต์ไฟฟ้าไปทดสอบการจมน้ำในสระน้ำที่ระดับความลึก 0.50 ม. ตลอดระยะเวลา 24 ชั่วโมงเพื่อดูให้แน่ว่าจะไม่เกิดควันหรือเปลวไฟขึ้นมาจนนำไปสู่การระเบิดของรถยนต์ไฟฟ้าคันนั้นนั่นเอง

สุดท้ายมาตรฐาน safety guide ของรถยนต์ไฟฟ้ายังได้กำหนดมาตรฐานการออกแบบอุปกรณ์ป้องกันภัยอันเนื่องมาจากการโดนชนท้าย (bottom collision protection design) ขึ้นมาอีกด้วยโดยจะแบ่งออกเป็นสองข้อดังนี้ (1) ระยะความสูงจากใต้พื้นท้องรถ (ground clearance) และ (2) โครงสร้างป้องกัน (protection structure) ซึ่งจะต้องแสดงรายละเอียดของวัสดุที่ใช้ทำโครงสร้างป้องกันนั้นด้วยว่าทำมาจากวัสดุประเภทใด ดังนั้นเมื่อเราได้ทราบมาตรฐานของรถยนต์ไฟฟ้าที่ให้ความสำคัญในเรื่องของ safety เป็นพิเศษเช่นนี้แล้ว ดังนั้นการตัดสินใจเลือกยานยนต์ไฟฟ้าสักคันมาใช้งานก็น่าจะง่ายขึ้นอีกมากเลย/bye

ข้อที่ห้า.. https://www.facebook.com/110108273956195/posts/249945089972512/?d=n

#TheDisruptor24hrs
#DigitalAddicted #CPIproconsultant

DA : Digital Addicted ดิจิทัลแอดดิกซ์เต็ด/รวมพลคนชอบเสพเทคโนโลยี

https://line.me/ti/g2/0OFP0YhsCY0R3rUmibaTdA?utm_source=invitation&utm_medium=link_copy&utm_campaign=default

CPI ProConsultant (ผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการ) เลือกที่ปรึกษางานก่อสร้างให้กับงานก่อสร้างบ้านของคุณและครอบครัว คุณภาพ/ระยะเวลา/ภายใต้งบประมาณ #วิศวกรที่ปรึกษา CPIproconsultant.simdif.com

ขอบคุณบทความจาก https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=278636810436673&id=110108273956195