เหล็กต่างๆ สำหรับทำโครงสร้างเหนือพื้นดินของโกดัง โรงงาน คลังสินค้า โดยเหล็กที่เอามาใช้ทำเสา ทำคานจะเรียกรวมๆว่า บีม(Beam) แล้วก็ค่อยๆเจาะจงไปตามรูปร่างของหน้าตัดว่าเป็นรูปอะไร ถ้าเป็นรูปตัว H ก็เรียกว่า H-Beam หน้าตัดเป็นรูปตัว I ก็เรียก I-Beam โดยอาจจะมีแยกย่อยไปเป็น ไวด์แฟรงค์ ( Wide Flange Beam ) เป็นอะไรได้อีกค่อนข้างหลากหลาย ตามลักษณะของรูปหน้าตัด
ปกติเหล็กที่จะขายทั่วไปจะเป็นขนาดแน่นอนไปเลย เช่น I-Beam 3501756*6000 มม. ก็เป็นรหัสของเหล็กว่าเป็น เหล็กรูปตัวไอ สูง 350 มม. กว้าง 175 มม. ความหนา(บางส่วน) 6 มม ยาว 6 เมตร ซึ่งทางผู้ผลิตก็จะสร้างเหล็กตามมาตรฐานออกมาหลายๆรุ่น หลายๆขนาด ให้ได้เลือกใช้
ทีนี้ผู้ออกแบบก็ต้องไปเลือกเอา จากสิ่งที่มีขายและ ใกล้เคียงความต้องการมาใช้ แล้ว ก็จะเกิดปัญหาขึ้นมาตรงนี้แหละว่า ถ้าความต้องการคือเหล็กสูง 370 มม. แต่ว่าไม่มีขาย มีแค่ 350 มม. แล้วไป 450 มม. เลย จะซื้อ 350 มม. ก็ไม่พอใช้ ซื้อ 450 มม. ก็เปลืองไป อีกข้อคือ เมื่อความยาวทั่วไปอยู่ที่ 6000 มม.(6 เมตร) มีความยาวอื่นบ้างแต่ต้องสั่ง
เมื่อมีปัญหา ก็จะมีคนแก้ปัญหาและก็เกิดเป็น บิวท์อัพบีม(Built Up Beam) ขึ้นมาหลักการคือ จะเอารูปหน้าตัดแบบไหน ความหนาของแต่ละส่วนเอาเท่าไหร่ รูปร่าง หน้าตาตลอดความยาวเป็นไงและ จะเอายาวเท่าไหร่ ก็ “สร้าง” ตามสั่งเลยแบบนี้ เหล็กเส้นนั้นก็จะได้ตรงตามต้องการ 100% ไม่ต้องมาตัดทิ้ง และไม่ต้องเลือกใช้เหล็กที่ใหญ่เกินความต้องการ เป็นการสิ้นเปลืองไป
เปรียบเทียบก็คือ เหล็กบีมที่ขายทั่วไป คือ เหล็กแบบมาตรฐาน เลือกใช้แบบตามมีตามเกิดไป ส่วน บิวท์อัพบีม ก็เหมือนชุดสั่งตัด ที่จะออกมาได้พอดีและสวยงามตามความต้องการ
ขอบคุณบทความจาก